วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การคิดเป็น

การคิดเป็น

คิดเป็น  หมายถึง การวิเคราะห์ปัญหา และการแสวงหาคำตอบหรือทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาหรือดับทุกข์ การคิดอย่างรอบคอบเพื่อแก้ไขปัญหา โดยอาศัยข้อมูลตนเอง ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมและด้านวิชาการ มาเป็นองค์ประกอบในการคิดตัดสินใจแก้ปัญหา 



ความสำคัญของการ “คิดเป็น”  คือ การสร้างสันติสุขให้เกิดกับโลก  เพราะถ้าประชากรส่วนใหญ่ของโลกยึดหลักการคิดด้วยกระบวนการคิดเป็น การมองปัญหาจึงมองอย่างเป็นเหตุเป็นผลสมจริง ความขัดแย้งจะลดลงหรือไม่เกิดความขัดแย้งขึ้น เมื่อไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น สังคมโลกก็จะมีแต่ความสุข
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้   เพื่อให้คนคิดเป็น

          การมุ่งให้เกิดกระบวนการคิดเป็น และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนจึงควรมีลักษณะในการสนับสนุนเพื่อให้ผู้เรียน  ได้ยึดกระบวนการคิดเป็นให้กลายเป็นวิถีของการเรียน
         
1. กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์จากปัญหาและความต้องการ
         
2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างมีศักยภาพ
         
3. เรียนรู้จากการอภิปรายในประเด็นที่เป็นปัญหา
         
4. เรียนรู้จากกระบวนการกลุ่ม โดยใช้ข้อมูลหลายๆด้าน
         
5. เรียนรู้จากวิถีชีวิตจริง
         
6. เรียนรู้จากการทำโครงงาน
         
7. เรียนรู้จากการศึกษากรณีตัวอย่าง
         
8. ฝึกการตัดสินใจ ด้วยระบบข้อมูลที่เพียงพอและเชื่อถือได้
         
9. นำเวทีชาวบ้านมาเป็นเครื่องมือสำคัญในกระบวนการคิดแก้ปัญหา
         
10. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ตัดสินใจแก้ปัญหาพื้นฐาน
สรุป การคิดเป็น เป็นลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยทุกคนไม่เฉพาะแต่ผู้เรียน กศน.เท่านั้น เพราะ“คิดเป็น”  จะช่วยให้คนไทยทุกคนยืนอย่างมั่นคง ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติสุข เพราะเข้าใจในสรรพสิ่งรอบตัว  และข้อสำคัญคือ เข้าใจตนเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเห็นภาพของกระบวนการคิดเป็น

ขั้นตอนการคิดการแก้ปัญหาแบบคนคิดเป็น
กระบวนการคิดเป็น แบ่งเป็น
6 ขั้นตอน
         
1. ขั้นตอนที่ 1 ขั้นระบุปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่
         
2. ขั้นตอนที่ 2 ทำการศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่
             โดยแบ่งออกเป็น
3 ประเภท
               
1. ข้อมูลตนเอง
               
2. ข้อมูลทางสังคม
               
3. ข้อมูลทางสังคม
              
4. ข้อมูลวิชาการ
         
3. ขั้นตอนที่ 3 การสังเคราะห์ข้อมูล 3 ด้าน
         
4. ขั้นตอนที่ 4 การตัดสินใจ
          5. ขั้นตอนที่ 5 ปฏิบัติตามสิ่งที่ได้คิดและตัดสินใจ
         
6. ขั้นตอนที่ 6 การประเมินผล





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น